ข้อความที่โพสต์จะได้รับการจัดอันดับ ตามทฤษฏีของ separate and connected knowingทฤษฏีนี้อาจช่วยให้คุณมองปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ ในรูปแบบใหม่ ซึ่งแบ่งวิธีการประเมินและเรียนรู้ของสิ่งที่เห็นและได้ยิน ของมนุษย์ได้สองรูปแบบแต่ละคน จะใช้วิธีทั้งสองในปริมาณและเวลา ที่ต่างกัน ตัวอย่างต่อไปนี้ จะแสดงความแตกต่างของคนสองคน คนหนึ่งเป็น separate knower (จิม) และอีกคนหนึ่งเป็น connected knower (แมรี่) จิมชอบที่จะไม่มีอคติ (รักษาความเป็นรูปธรรม)ให้มากที่สุด โดยพยายาม หลีกเลี่ยงความรู้สึกส่วนตัว เมื่อมีการถกปัญหากับคนอื่นที่คิดไม่เหมือนกัน จิมจะพยายามโต้เถียงยืนยันความคิดของตนเอง โดยใช้เหตุผลและหาข้อบกพร่อง ในความคิดเห็นของคู่สนทนา เขาจะวิจารณ์ความคิดเห็นใหม่ๆ จนกว่าจะได้ พิสูจน์จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เช่น ตำรา อาจารย์ที่น่านับถือ หรือจากประสบการณ์ ของเขาเอง จิมคือ separate knower แมรี่เป็นคนที่มีความรู้สึกไวต่อผู้อื่น เธอมีความสามารถในการใส่ใจรับฟัง และถามปัญหาจนกว่าเธอจะรู้สึกเข้าใจมุมมองของคนอื่น เธอเรียนรู้ด้วยการแลกเปลี่ยน ประสบการณ์และทำให้เธอได้ความรู้จากผู้อื่น ขณะพูดคุยเธอจะหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า และพยายามช่วยเหลือผู้อื่นโดยใช้เหตุผลและให้ข้อแนะนำ แมรี่คือ connected knower โปรดสังเกตจากตัวอย่างที่ให้ separate knower เป็นผู้ชายและ connected knower เป็นผู้หญิง สถิติที่ได้จากการศึกษาหลายครั้งมีแนวโน้มแบบกรณีนี้ อย่างไรก็ตาม บุคคลทั่วไปก็จะอยู่ระหว่างตัวอย่างสุดขั้วทั้งสองนี้ จะเป็นการดีที่สุดหากทุกคนจะสามารถใช้วิธีคิดได้ทั้งสองวิธี เพื่อความสามัคคี และประสิทธิภาพของกลุ่มผู้เรียน ในสถานการณ์พิเศษเช่นในกระดานสนทนาทางอินเตอร์เน็ต ข้อความ ที่โพสต์โดยบุคลหนึ่งอาจแสดงลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือ ทั้งสองลักษณะก็ได้ บางคนซึ่งปกติเป็นคนที่มีสัมพันธ์ดี อาจโพสต์ข้อความที่ฟังดูแปลกแยก หรืออาจเป็นทางตรงกันข้าม จุดประสงค์ของการจัดอันดับแต่ละข้อความที่ โพสต์เข้ามา โดยใช้วิธีการวัดแบบนี้ คือ ก) ช่วยให้คิดเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ เมื่ออ่านข้อความอื่นๆ ข) แสดงผลให้ผู้เขียนทราบว่าคนอื่นมองว่าผู้เขียนเป็นอย่างไร ผลที่ได้ ไม่ได้ใช้ในการประเมินนักเรียน แต่จะช่วยให้นักเรียนพัฒนาการสื่อสาร และการเรียนรู้
ในกรณีที่คุณสนใจ ต่อไปนี้คือเอกสารอ้างอิง ของผู้เขียนที่เป็น ต้นแบบพัฒนาแนวความคิดนี้
  • Belenky, M.F., Clinchy, B.M., Goldberger, N.R., & Tarule, J.M. (1986). Women's ways of knowing: the development of self, voice, and mind. New York, NY: Basic Books.
  • Clinchy, B.M. (1989a). The development of thoughtfulness in college women: Integrating reason and care. American Behavioural Scientist, 32(6), 647-657.
  • Clinchy, B.M. (1989b). On critical thinking & connected knowing. Liberal education, 75(5), 14-19.
  • Clinchy, B.M. (1996). Connected and separate knowing; Toward a marriage of two minds. In N.R. Goldberger, Tarule, J.M., Clinchy, B.M. &
  • Belenky, M.F. (Eds.), Knowledge, Difference, and Power; Essays inspired by “Women’s Ways of Knowing” (pp. 205-247). New York, NY: Basic Books.
  • Galotti, K. M., Clinchy, B. M., Ainsworth, K., Lavin, B., & Mansfield, A. F. (1999). A New Way of Assessing Ways of Knowing: The Attitudes Towards Thinking and Learning Survey (ATTLS). Sex Roles, 40(9/10), 745-766.
  • Galotti, K. M., Reimer, R. L., & Drebus, D. W. (2001). Ways of knowing as learning styles: Learning MAGIC with a partner. Sex Roles, 44(7/8), 419-436.

หน้าแรกของไฟล์ช่วยเหลือทั้งหมด
Show this help in language: English


CPA_E-Learning @ 2010 โดย เด็กจอมแก่น